สำนักศาสนศึกษาวัดละหารและการเผยแผ่ธรรม

           วัดละหาร  เป็นสำนักศาสนศึกษาประจำ อำเภอบางบัวทอง  จังหวัดนนทบุรี ได้เริ่มการสอนภาษาบาลี เมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๔๙๔ โดยพระครูนนทปรีชา (เปลี่ยน ทองทวี)อดีตเจ้าอาวาสวัดละหาร ย้ายมาจากวัดโมลี อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี ซึ่งเป็นเป็นสำนักศาสนศึกษาแห่งแรกของอำเภอบางบัวทอง ครูอาจารย์ชุดแรกของสำนักวัดละหาร คือ พระมหาทองอยู่ ฮวดศรี ป.ธ.๕ น.ธ.เอก   พระมหาบุญส่ง วิสุทธินนท์ ป.ธ.๖ น.ธ.เอก   ซึ่งหลวงพ่อพระครูนนทปรีชา(เปลี่ยน)ส่งไปเรียนที่วัดโมลี แล้วกลับมาสอนที่วัดละหาร
            พระครูนนทปรีชา(เปลี่ยน)ดำรงตำแหน่งเจ้าสำนักศาสนศึกษาวัดละหารตั้งแต่พ.ศ.๒๔๘๔ จนถึง พ.ศ.๒๕๑๔เป็นเวลายาวนานถึง ๓๐ปี ได้อุปถัมภ์พระภิกษุสามเณรให้มีความรู้นักธรรมและบาลีเป็นจำนวนมาก มีพระมหาทองสา เขมจารี สอบได้ปรียญธรรม๗ประโยค เ ป็นประโยคสูงสุดสมัยนั้น
            ต่อมาพระครูภัทรนนทคุณ (อ้น เดชขจร ป.ธ.๓ , น.ธ.เอก) รับตำแหน่งเจ้าสำนักศาสานศึกษาต่อตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๔ ถึง พ.ศ.๒๕๒๕ รวมเวลา ๙ ปีก็ยังรักษาเป็นสำนักศาสนศึกษาไว้ตามสมควร
            เมื่อพ.ศ.๒๕๒๕ พระครูนนทโมลี (สำรวย อาภากโร ป.ธ.๖ ,นธ.เอก) ได้มาดำรงตำแหน่งเจ้าสำนักศาสนศึกษาวัดละหาร  ได้เป็นทั้งผู้ศึกษาด้วยตนเองและให้การสนับสนุนการศึกษาแก่พระภิกษุสามเณร ที่เดินทางจากต่างจังหวัดเพื่อเข้ามาศึกษาพระปริยัติธรรมอย่างจริงจัง จนมีสถิติมีผู้สอบผ่านมากขึ้น โดยเมื่อปีพ.ศ.๒๕๓๗ ท่านได้สอบไล่ได้เปรียญธรรม๗ประโยค  จากนั้นได้บริหารสำนักศาสนศึกษาวัดละหารและให้การสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง        จนมีผู้สอบเปรียญธรรม๙ ประโยคได้ ๓รูปคือ ๑.พระมหารังสี รตนโชโต , ๒.พระมหาฟ้าหยาด กิตฺติเมธี,                           ๓.พระมหาสุริยา  ฐิตเมธี  และมหาเปรียญอีกเป็นจำนวนมาก
            ปัจจุบันสำนักศาสนศึกษาวัดละหาร ได้เปิดการทำการเรียนการสอนพระปริยัติธรรม ทั้งแผนกธรรมและบาลี ในส่วนของแผนกธรรมนอกจากเปิดการสอนนักธรรมแล้วยังได้ประสานกับโรงเรียนและหน่วยงานต่างๆเพื่อเปิดโอกาสให้เยาวชนและบุคคลทั่วไปได้ศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรม ซึ่งมีนักเรียนสอบผ่านเป็นจำนวนมาก

 

การศึกษาแผนกธรรมและบาลี
เป็นการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกธรรมและการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลี ตามหลักสูตรที่คณะสงฆ์กำหนด













 

เผยแผ่ธรรมแก่เยาวชน
เป็นโครงการหนึ่งที่มีแนวคิดที่จะสงเคราะห์เด็กและเยาวชนท้องถิ่นเหล่านี้ให้มีโอกาสได้เรียนรู้หนังสือพร้อมหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนาไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อนำไปพัฒนาและยกระดับปรับคุณภาพชีวิตให้สูงขึ้น อีกทั้งยังจะเป็นการสร้างความเข้าใจและความสัมพันธ์อันดีระหว่างสถาบันพระพุทธศาสนาและประชาชนในท้องถิ่น อันจะเอื้ออำนวยให้เกิดผลดีต่อการปฏิบัติงานการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในแดนพุทธภูมิต่อไป



 

งานฉลองเปรียญธรรมและทำบุญอดีตเจ้าอาวาส
ทุกวันที่ ๑๕ สิงหาคม ของทุกปี



 

ศูนย์พุทธศาสนาวันอาทิตย์
     ศูนย์ศึกษาพุทธศาสนาวันอาทิตย์ เป็นหน่วยงานที่เผยแพร่ศีลธรรมทางพระพุทธศาสนาที่วัด ได้จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นแหล่งให้การศึกษา อบรม ปลูกฝังศีลธรรม วัฒนธรรมและประเพณีอันดีงามแก่เด็กและเยาวชน
     ศูนย์ศึกษาพุทธศาสนาวันอาทิตย์ เป็นองค์กรทางพระพุทธศาสนาองค์กรหนึ่งที่พระสงฆ์ได้จัดตั้งขึ้นมา เป็นการจัดการศึกษาสงเคราะห์นอกระบบโรงเรียน ให้การศึกษาอบรมประชาชน ซึ่งกลุ่มเป้าหมายส่วนใหญ่เป็นเด็กและเยาวชนที่กำลังอยู่ในวัยแห่งการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อให้รู้จักใช้เวลาว่างในวันหยุดเรียน เข้ามาศึกษาหาความรู้ความเข้าใจตามหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนาแล้วน้อมนำไปประพฤติปฏิบัติในชีวิตประจำวัน
     การมีแหล่งหรือสถาบันพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็กและเยาวชนในรูปแบบศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ จึงนับเป็นอุบายวิธีเชิงปฏิบัติการที่ดียิ่งอย่างหนึ่งในสังคมปัจจุบัน เพราะสามารถชักนำเด็กและเยาวชนเข้าสู่ร่มเงาพระพุทธศาสนา เพื่อการอบรมบ่มนิสัย และสร้างจิตสำนึกให้เห็นคุณค่าของพระพุทธศาสนาแต่แรกเริ่ม นับเป็นวิธีการในรูปแบบประเพณีไทย อย่างหนึ่งที่ได้รักษาพระพุทธศาสนาให้ดำรงมั่นคงอยู่ได้ตั้งแต่อดีตจวบจนปัจจุบัน
     กรมการศาสนามุ่งหวังให้วัดปฏิบัติภารกิจด้านการศึกษาสงเคราะห์ อันเป็นภารกิจของคณะสงฆ์ให้เด่นชัดด้วยรูปแบบการจัดการศึกษาวิชาทางพระพุทธศาสนาแก่เด็กและเยาวชน โดยการจัดตั้งศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์เพราะได้ตระหนักว่า วัดคือสถาบันทางพระพุทธศาสนาที่มีบทบาทอย่างสำคัญยิ่งในการดำเนินงานด้านพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมสู่ประชาชนโดยเฉพาะเด็กและเยาวชน จึงส่งเสริมให้วัดทั่วประเทศเปิดดำเนินการศูนย์ศึกษาพุทธศาสนาวันอาทิตย์ขึ้น












 

บรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน
บรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อนมีนโยบายยกระดับคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่มุ่งให้นักเรียนทุกคนมีคุณธรรม จริยธรรม ความสำนึกในความเป็นไทย มีจิตสาธารณะ อยู่อย่างพอเพียง มีความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน และมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงในสังคมพหุวัฒนธรรม ด้วยการปฏิบัติตามหลักธรรมเป็นนิสัย

บรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน เป็นการสร้างพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อมใหม่ให้กับเยาวชน หลังลาสิกขา จึงเป็นการปรับพฤติกรรมเด็กและเยาวชนไทยให้เข้าสู่วิถีชีวิตที่ดีงาม เป็นลูกที่ดีของพ่อแม่ เป็นศิษย์ที่ดีของครูอาจารย์ เป็นพลเมืองดีของชาติ และเกิดพลังสืบสานพระพุทธศาสนาสืบไป

วัตถุประสงค์
๑. เพื่อปลูกฝัง ความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และความสามัคคี ในหมู่เยาวชน ให้มีจิตสาธารณะ, ใฝ่สันติ, และมีที่พึ่งอย่างแท้จริงในตนเอง
๒. เพื่อหล่อหลอมเด็กและเยาวชนทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ให้เป็นคนดีมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์จนติดเป็นนิสัย
๓. เพื่อปรับพฤติกรรมเด็กและเยาวชนไทยให้เข้าสู่วิถีชีวิตที่ดีงาม โดยการสร้างสิ่งแวดล้อมใหม่
๔. เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้เด็กและเยาวชนไทยรู้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมพหุวัฒนธรรม
๕. เพื่อตระหนักรู้ ในคุณค่าของประเพณี วัฒนธรรมไทยและสามารถนำไปใช้ได้อย่างภาคภูมิ
๖. เพื่อส่งเสริมสนับสนุน และสร้างความตระหนักรู้ให้กับเด็กและเยาวชนไทย ในคุณค่าของประเพณี วัฒนธรรมไทย วัฒนธรรมชาวพุทธ และสามารถนำหลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนา การปฏิบัติตามหลักศีล ๕ ไปใช้ในวิถีชีวิตได้อย่างภาค
ภูมิ









 

Facebook : วัดละหาร - Email : [email protected]
WATLAHAN - COPYRIGHT 2018 - ALL RIGHTS RESERVED